
การให้บริการการแพทย์แผนไทย
คลินิกแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือกเปิดให้บริการตรวจวินิจฉัย รักษาด้วยวิธีการจ่ายยา การนวด ประคบสมุนไพร การอบสมุนไพร เพื่อการบำบัดรักษา ป้องกันโรคและฟื้นฟูสภาพ โดยใช้ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ด้วยการนวด ประคบสมุนไพรและการใช้ยาสมุนไพร ภายใต้มาตรฐานวิชาชีพแพทย์แผนและให้คำปรึกษาคำแนะนำโดยแพทย์แผนไทยประยุกต์ สะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย และผู้รับบริการมีความพึงพอใจ
ตรวจรักษาและให้คำปรึกษา
• กลุ่มอาการทางระบบกล้ามเนื้อ
อาการปวดกล้ามเนื้อ, คอตกหมอน, ไมเกรน, หัวไหล่ติด, นิ้วล็อก, ข้อเข่าเสื่อม, ตะตริว,
และอัมพฤกษ์, อัมพาต
• กลุ่มอาการทางระบบทางเดินอาหารจุกเสียด, แน่นท้อง, ท้องอืด
• กลุ่มอาการทางระบบทางเดินหายใจหอบหืด, ภูมิแพ้, ไอ
เปิดให้บริการ
ตั้งแต่เวลา 08.00 – 16.30 น. ทุกวันจันทร์-อาทิตย์ ยกเว้นวันหยุด
นักขัตฤกษ์ พักเที่ยง 12.00- 12.50 น.
ติดต่อสอบถามหมายเลขโทรศัพท์
053-277029 (สายตรง)
053-272256 ต่อ 603 (ผ่านประชาสัมพันธ์)
ขั้นตอนการมารับบริการ
1. ยื่นบัตรโรงพยาบาลและบัตรประจำตัวประชาชนแก่เจ้าหน้าที่
2. คัดกรองสิทธิ์การรักษาและตรวจวัดสัญญาณชีพ
3. พบแพทย์แผนไทย ซักประวัติ ตรวจร่างกาย วินิจฉัย วางแผนการรักษาและให้คำแนะนำ ท่ากายบริหารและให้คำปรึกษาสุขภาพ
4. ติดต่อนัดรักษาต่อตามแผนการรักษา
5. รับยาห้องเบอร์ 6 / ผู้รับการนวดเปลี่ยนชุดที่ห้องเปลี่ยนเสื้อผ้าชาย – หญิง
6. เข้าห้องนวดแผนไทย
7. เสร็จสิ้นการนวด ตรวจสอบสัมภาระและของมีค่าก่อนกลับ
ระยะเวลาการบริการนวด ทั้งหมด 4 รอบ/วัน
รอบที่ 1 เวลา 09.00 – 10.40 น.
รอบที่ 2 เวลา 10.45 – 12.25 น.
รอบที่ 3 เวลา 13.15 – 14.55 น.
รอบที่ 4 เวลา 15.00 – 16.40 น.
ประโยชน์ของการนวด
• เพิ่มการไหลเวียนเลือดและน้ำเหลือง ส่งเสริมให้ฟื้นฟูและซ่อมแซมกล้ามเนื้อได้อย่างมีประสิทธิภาพ
• ลดการแข็งเกร็งของกล้ามเนื้อทำให้บรรเทาอาการปวดเมื่อยล้าได้
• ช่วยฟื้นฟูสำหรับผู้ที่มีปัญหาด้านการเคลื่อนไหวของข้อเช่นหัวไหล่ติด,นิ้วล็อกและข้อเข่าเสื่อม
• ช่วยฟื้นฟูสมรรถภาพสำหรับผู้ที่เป็น อัมพฤกษ์ อัมพาต
• เป็นทางเลือกสำหรับการบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อโดยการไม่ใช้ยา
ข้อห้ามสำหรับผู้รับการนวด
1. ผู้ที่มีไข้เกิน 38.5 องศาเซลเซียส
2. ผู้ที่มีความดันโลหิต≥ 150/90 มิลิเมตร.ปรอท
3. ผู้ที่เป็นโรคติดต่อทางผิวหนัง
4. ผู้ที่มีประวัติกระดูกปริ, แตก, หัก, ร้าว ที่ยังไม่ติดและโรคกระดูกพรุนรุนแรง
5. ผู้ที่มีภาวะผิดปกติของระบบไหลเวียนของเลือดและผิดปกติของเลือดเช่น เส้นเลือดแดงในช่องท้อง
โป่งพอง โรคเลือดไม่แข็งตัว ลิ่มเลือดอักเสบ ลิ่มเลือดอุดตันในเส้นเลือด
6. โรคมะเร็งในระยะลุกลาม
7. ผู้ที่ได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุหรือจากการเล่นกีฬาภายใน 48 ชั่วโมง
8. ผู้ป่วยโรคหัวใจที่มีภาวะควบคุมไม่ได้
9. โรคติดต่อทุกชนิดและโรควัณโรค